ดิน ในประเทศไทยกับงานก่อสร้าง มีแบบไหนบ้าง มาดูกัน!
ดิน นับว่าเป็นวัสดุทางธรรมชาติ ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการก่อสร้างไม่ว่าจะสร้างตึกหรู อาคาร สะพาน หรืออะไรก็ตาม
ทั้งนี้ในการที่จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้ออกมาดีแบบนั้นได้ เราก็ต้องนึกย้อนกลับไปถึงต้นตอ หรือพื้นฐานแรกเริ่มซึ่งสำหรับในครั้งนี้ ก็คือเรื่องของพื้นฐานล่างสุดหรือ ดิน นั่นเองครับ เพราะอย่าลืมว่าสุดท้ายแล้วสิ่งก่อสร้างทุกอย่างบนโลกใบนี้ ล้วนก็จำเป็นต้องถูกสร้างออกมาให้ตั้งอยู่บนพื้นดินให้ได้ทั้งนั้น
ดังนั้นแล้วการรู้จักชนิดของดินในงานก่อสร้างจึงเป็นสิ่งที่เราจะทำการพูดคุยกันต่อไปนั่นเองครับ
ชนิดของดินในงานก่อสร้าง
ในความเป็นจริงแล้ว ดินในโลกของเรานั้นมีอยู่มากมายหลากหลายประเภท ถ้าจะให้พูดทุกประเภทคงต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะคุยกันจบ
เช่นเดียวกับปัจจัยในดินที่มีผลต่อการรับน้ำหนักที่มีอยู่อย่างมหาศาล ในบทความนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น เราจะขอทำการพูดคุยกันอย่างง่าย ๆ โดยมีหัวข้อตามนี้ครับ
ดิน 4 ชนิดที่มักจะเจอในงานก่อสร้าง
- ดินเหนียว (Clay)
- ดินตะกอน (Silt)
- ดินทราย (Sand)
- ดินกรวด (Gravel)
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับน้ำหนักของดินในงานก่อสร้าง
- ปริมาณน้ำในดิน
- การระบายน้ำ
- ขนาดอนุภาคของเม็ดดิน
ลักษณะ และคุณสมบัติของดินแต่ละชนิดในงานก่อสร้าง
ดินเหนียว (Clay)
- เป็นดินชนิดแรกที่เราจะมาคุยกันในวันนี้ครับ เจ้าดินเหนียวนี้ลักษณะของเขาคือ เป็นดินที่มีขนาดอนุภาคเล็ก และมีเนื้อเม็ดละเอียด เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (หมายถึงอนุภาคต่อ 1 เม็ด)
- ส่วนความสามารถ ในการระบายน้ำและอากาศนั้นก็อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งระดับน้ำในอนุภาคดิน ส่งผลให้ดินมีกำลังรับน้ำหนักที่ต่ำลง
- ลองนึกนึกภาพถึงโคลนเหลว ๆ เนื่องมาจากคุณสมบัติของน้องดินเหนียวเองที่มีความเป็นพลาสติกสูงในตัวเอง (น้องจะยืดตัวเวลาโดนน้ำ แต่จะกลับมาหดตัวเหมือนเดิมเมื่อแห้ง) ทำให้เวลาที่มีน้ำหนักมากดทับ ดินเหนียวจะไม่ได้ทรุดตัวทั้งหมดทันที น้องจะค่อย ๆ ทรุด ทำให้เกิดการทรุดตัวในระยะยาวได้ (จะเห็นได้จากตอนเราซื้อบ้านเสร็จใหม่ ๆ บ้านยังไม่ทรุด แต่ผ่านไปไม่กี่ปี บ้านทรุดหนักมาก)
ดินตะกอน (Silt)
- มักเกิดจากกระบวนการสลายตามธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่แล้วมักถูกพัดมาตามแหล่งน้ำ ส่วนลักษณะภายนอกคือเป็นดินที่มีขนาดเล็ก
- ในเรื่องของความสามารถในการระบายน้ำและกาศถือว่าสูสี ทำได้ไม่ดีพอ ๆ กับดินเหนียวเพราะน้องตะกอนชอบกักเก็บน้ำไว้กับตัวนาน เลยทำให้มีปริมาณน้ำในดินสะสมอยู่มาก ส่งผลให้ดินมีกำลังรับน้ำหนักที่ต่ำลงเหมือนกับในกรณีของน้องดินเหนียวนั่นเองครับ
- นอกจากนี้ในบางครั้งเราอาจมีโอกาสพบเห็นกองดินน้องตะกอนที่อยู่ตามพื้นที่โล่ง เวลาฝนตกหนัก ๆ กลายเป็นแอ่งน้ำได้ด้วย เนื่องมาจากเหตุผลเดิม คือน้องค่อนข้างระบายน้ำได้ช้า
ดินทราย (Sand)
- เจ้าน้องคนนี้เป็นดิน ที่มีลักษณะเนื้อหยาบเและมีขนาดของเม็ดอนุภาคที่ใหญ่ มีความหนาแน่นสูงนอกจากนี้ยังพบว่าเป็นดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวด้วยกันน้อย เพราะมีปริมาณสารเชื่อมน้อย จากการมีปริมาณสารอินทรีย์วัตถุในดินที่ต่ำ สังเกตได้ง่าย ๆ คือถ้าเราลองจับดินทรายขึ้นมา กำให้แน่น แล้วปล่อยมือ น้องจะแตกออกจากกัน ไม่จับกันเป็นก้อน
- ในส่วนของความสามารถในการระบายน้ำและอากาศต้องเรียกได้ว่าน้องทรายทำได้ดีมาก ๆ เพราะน้องมีความหนาแน่นสูงแต่มีความพรุนต่ำ ความขัดแย้งนี้เลยยอมให้น้ำไหลผ่านตลอด ไม่อุ้มน้ำ ใด ๆ เลยบวกกับขนาดความใหญ่ของอนุภาค ทำให้มีแรงเสียดทานระหว่างเม็ดดินสูง ส่งผลให้เมื่อมีน้ำหนักกดทับ อนุภาคทรายจะจัดเรียงใหม่จนแน่นกว่าเดิม และทำให้รับน้ำหนักวัตถุก่อสร้างได้สูงมากนั่นเอง
ดินกรวด (Gravel)
- น้องคนสุดท้ายที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือ น้องคนโต ดินกรวดเป็นน้องที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาพี่น้องทั้ง 4 ชนิด เกิดจากการรวมตัวกันของหินหลาย ๆ ประเภท ด้วยความหลากหลายนี่เองเลยทำให้มีลักษณะเนื้อที่หยาบ นอกจากนี้ ยังมีความสามารถในการยึดเหนี่ยวกันในเม็ดดินที่น้อย
- ส่วนเรื่องความสามารถของพี่ใหญ่คนนี้คือ เขามีความสามารถในการระบายน้ำที่สูง
- ด้วยเหตุผลจากปัจจัยที่ควบคุมค่าสภาพที่ให้น้ำซึมผ่านไีด้ดีคือ ขนาดและความต่อเนื่องของช่องว่างขนาดใหญ่ เพราะยิ่งดินมีช่องว่างขนาดใหญ่และมีความต่อเนื่องก็จะทำให้น้ำซึมผ่านได้สูง หรือระบายน้ำได้ดีนั่นเอง ซึ่งนอกจากการระบายน้ำแล้ว ก็ยังคงส่งผลต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของดินกรวดด้วย
ถึงข้อมูลจะบอกเราว่า ดินทราย กับดินกรวดเป็นดิน 2 ชนิดที่มีกำลังแรงรับมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของน้องดิน มีความซับซ้อนกว่านั้นเยอะเลยครับ เพราะในพื้นที่จริง ๆ เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีดินอะไรปะปนกันอยู่บ้าง เราอาจจะไปเจอดินตะกอนปนดินเหนียว, ดินตะกอนปนดินทราย หรือดินเหนียวปนดินตะกอน (ตามรูปภาพ) เราไม่มีทางรู้เลยครับ เพราะดินนั้นมีอนุภาคเล็กมาก ๆ การจะแยกแยะจำแนกประเภทของดิน ก็เลยเป็นเรื่องยากมาก ๆ ครับ
เพราะแบบนี้เอง เราเลยต้องมีการทำการเจาะสำรวจ ก่อนก่อสร้างครับ เพราะจะทำให้เรารู้ได้แน่ ๆ ว่าในพื้นใต้ดินนี้ มีดินอะไรปะปนกันอยู่บ้าง แล้วพอเรารู้ เราก็จะเลือกวิธีแก้ปัญหา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเลือกวิธีการปรับปรุงคุณภาพดิน ได้เหมาะสมกับพื้นที่ได้นั่นเองครับ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในช่องทาง
Facebook : https://www.facebook.com/ghthai2015/